วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

OA (Open Access)

OA (Open Access).


สิ่งพิมพ์ที่เป็น Open Access เป็นสิ่งพิมพ์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือดิจิตอล คุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งของการเป็นคลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบัน คือ การสามารถให้มีการเข้าถึงได้แบบเปิด / แบบเสรี หรือมีปัญหาในการเข้าถึงให้น้อยที่สุด (เช่น การต้องลงทะเบียนในการเข้าใช้) สามารถเผยแพร่ได้ ทุกคนเข้าถึงได้ตลอดเวลา ทุกที่ ใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด สามารถเผยแพร่นำไปใช้งานได้อย่างเสรีไม่ผิดกฎหมาย ไม่ขึ้นกับระบบปฏิบัติการและลิขสิทธิ์ของบริษัทใดๆ มีการดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องโดยผู้ทรงคุณวุฒิ หรือเรียกกันง่ายๆ ว่า เป็นวารสารที่มี Peer review. 


         เป็นแนวคิดที่เปิดให้สาธารณะเข้าถึงได้อย่างเสรี

         นอกจากเปิดให้เป็นสาธารณะแล้ว จะไม่จำกัดสิทธิในการใช้ โดยอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถกระทำการเชื่อมโยง คัดลอก ถ่ายโอนไปใช้  ทำการแจกจ่าย การทำสำเนา ทำการคัดแปลง และนำไปใช้เพื่อการค้า ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต

         เดิมOA หมายถึงบทความทางด้านวิชาการในรูปแบบดิจิทัลที่ให้บริการบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเท่านั้น
        
         ปัจจุบัน ครอบคลุม วิทยานิพนธ์ เอกสารสัมมนา การประชุม เอกสารการสอน และสื่อโสตทัศนวัสดุ เช่น วิดีโอ เพลง ภาพ
         OA จะไม่หมายรวมถึง นวนิยาย บทความในนิตยสาร รวมถึงเว็บไซต์ เช่น wikis, blogs ที่เปิดให้เข้าดูได้ เพราะมีรูปแบบที่เปิดเนื้อหาให้อ่านได้เป็นสาธารณะ แต่ผู้จัดทำจะยังคงความเป็นเจ้าของเนื้อหาที่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ ยกเว้นมีการแจ้งว่าเป็น OA

         แนวคิดเริ่มเกิดในประเทศสหรัฐอเมริกา จากกลุ่มนักวิชาการสายวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ(Natural sciences)



พัฒนาการที่ทำให้เกิด OA

1.      e publishing
2.      The internet
made it cheap and easy to share scholarly articles
3.      The prices of journals
were skyrocketing, and as a result very few people had access to most scholarly work



คุณค่าของ OA

       มีผลทำให้มีการพัฒนาความรู้จากการวิจัยได้อย่างรวดเร็ว เผยแพร่สู่สาธารณะให้เป็นที่ยอมรับและเข้าถึงได้อย่างทั่วกัน
        ส่งผลบทความวิจัยมีระดับแสดงคุณภาพ และการวิเคราะห์คุณภาพ และการนำไปใช้มีผลสูงขึ้น เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น