วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แนวโน้ม E-publishing and IR .

แนวโน้ม E-publishing.


ในยุคปัจจุบันเป็นยุคข้อมูลข่าวสารที่ไร้พรมแดน ทำให้เกิดระบบการพัมนาการสื่อสารที่กว้างไกล และ รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ข้อมูลข่าวสารเป็นสิ่งที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน และ อยู่รอบๆตัว จึงต้องเกิดการเผยแพร่แบ่งปันความรูแบบสมัยใหม่ ที่ทันสมัย ทันต่อยุคและทันต่อเหตุการณ์มากขึ้นตามไปด้วย
E-publishing คือ สื่อสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีให้บริการบนเว็บไซต์  โดยคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลาง ในการเข้าถึง สารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์  เพียงแต่ไม่ได้พิมพ์ออกมาเท่านั้น  นอกไปจากนั้น  ยังสามารถใส่ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และยังสามารถเชื่อมโยงข้อมูลไปยังข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อีกด้วย และเนื่องจากการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ได้รับความนิยมอย่างมากเพราะเกิดความสะดวก รวดเร็ว เข้าถึงได้ง่าย และประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายจึงทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา
หนังสือหรือเอกสารที่เก็บอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือเก็บไว้อยู่ในแบบของไฟล์ โปรแกรมส่วนมากที่เข้าใจกันคือหนังสือที่เก็บในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ต้องใช้กระดาษและมีการสร้างจากคอมพิวเตอร์ และสามารถอ่านได้จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างคอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ้ก ปาล์ม พ็อกเก็ตพีซี หรือกระทั่งอ่านได้จากโทรศัพท์มือถือบางรุ่น
ทรัพยากรสารสนเทศมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบที่ทันสมัยและไม่หยุดนิ่งอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น E-publishing จึงมีบทบาทกับคนยุคปัจจุบันอย่างมาก
E-Publishing  สามารถเข้าถึงได้ง่าย ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ทุกที่ ทุกเวลา ไม่จำเป็นต้องมาใช้ที่ห้องสมุดเท่านั้น  และยังสามารถเข้าถึงได้อย่างสาธารณะ อีกทั้งสถาบันสารสนเทศเองก็ประหยัดงบประมาณในการสั่งซื้อ และประหยัดสถานที่ในการจัดเก็บสารสนเทศอีกด้วย( Information Overload )  จึงทำให้แนวโน้มการใช้ E- Publishing เพิ่มขึ้นตลอดเวลา




IR (Institutional Repositories).


คลังเก็บทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล ที่เกิดภายในความร่วมมือขององค์กรในการจัดทำและรวบรวมสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งมีการจัดเก็บเป็นศูนย์รวม มีการสงวนรักษา และมีการจัดทำดัชนีที่ได้มาตรฐาน สามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศเหล่านั้นได้ กล่าวได้ว่า คลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบันเป็นบริการจัดการและเผยแพร่งานในรูปแบบดิจิทัลอันเป็นผลงานหรือผลผลิตของสมาชิกในประชาคมนั้น ๆ และผู้ใช้ทั้งภายในและภายนอกสามารถเข้าถึงได้ และเผยแพร่ในรูปของดิจิทัล รวมทั้งการสงวนรักษาผลงานเหล่านั้นให้คงไว้ในระยะยาว และถือเป็นบทบาทหลักของมหาวิทยาลัย หน่วยงานวิจัย ในการเผยแพร่ผลงานต่าง ๆ เหล่านี้ออกสู่โลกภายนอกให้ผู้ใช้ได้สามารถเข้าถึงได้ง่าย สะดวก ตรงต่อความต้องการมากที่สุด



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น