วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

OA (Open Access)

OA (Open Access).


สิ่งพิมพ์ที่เป็น Open Access เป็นสิ่งพิมพ์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือดิจิตอล คุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งของการเป็นคลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบัน คือ การสามารถให้มีการเข้าถึงได้แบบเปิด / แบบเสรี หรือมีปัญหาในการเข้าถึงให้น้อยที่สุด (เช่น การต้องลงทะเบียนในการเข้าใช้) สามารถเผยแพร่ได้ ทุกคนเข้าถึงได้ตลอดเวลา ทุกที่ ใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด สามารถเผยแพร่นำไปใช้งานได้อย่างเสรีไม่ผิดกฎหมาย ไม่ขึ้นกับระบบปฏิบัติการและลิขสิทธิ์ของบริษัทใดๆ มีการดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องโดยผู้ทรงคุณวุฒิ หรือเรียกกันง่ายๆ ว่า เป็นวารสารที่มี Peer review. 


         เป็นแนวคิดที่เปิดให้สาธารณะเข้าถึงได้อย่างเสรี

         นอกจากเปิดให้เป็นสาธารณะแล้ว จะไม่จำกัดสิทธิในการใช้ โดยอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถกระทำการเชื่อมโยง คัดลอก ถ่ายโอนไปใช้  ทำการแจกจ่าย การทำสำเนา ทำการคัดแปลง และนำไปใช้เพื่อการค้า ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต

         เดิมOA หมายถึงบทความทางด้านวิชาการในรูปแบบดิจิทัลที่ให้บริการบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเท่านั้น
        
         ปัจจุบัน ครอบคลุม วิทยานิพนธ์ เอกสารสัมมนา การประชุม เอกสารการสอน และสื่อโสตทัศนวัสดุ เช่น วิดีโอ เพลง ภาพ
         OA จะไม่หมายรวมถึง นวนิยาย บทความในนิตยสาร รวมถึงเว็บไซต์ เช่น wikis, blogs ที่เปิดให้เข้าดูได้ เพราะมีรูปแบบที่เปิดเนื้อหาให้อ่านได้เป็นสาธารณะ แต่ผู้จัดทำจะยังคงความเป็นเจ้าของเนื้อหาที่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ ยกเว้นมีการแจ้งว่าเป็น OA

         แนวคิดเริ่มเกิดในประเทศสหรัฐอเมริกา จากกลุ่มนักวิชาการสายวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ(Natural sciences)



พัฒนาการที่ทำให้เกิด OA

1.      e publishing
2.      The internet
made it cheap and easy to share scholarly articles
3.      The prices of journals
were skyrocketing, and as a result very few people had access to most scholarly work



คุณค่าของ OA

       มีผลทำให้มีการพัฒนาความรู้จากการวิจัยได้อย่างรวดเร็ว เผยแพร่สู่สาธารณะให้เป็นที่ยอมรับและเข้าถึงได้อย่างทั่วกัน
        ส่งผลบทความวิจัยมีระดับแสดงคุณภาพ และการวิเคราะห์คุณภาพ และการนำไปใช้มีผลสูงขึ้น เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

Copy Right.

Copy Right.


                     ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น
โดยการแสดงออกตามประเภทงานลิขสิทธิ์ต่าง ๆ                    ลิขสิทธิ์ เป็นผลงานที่เกิดจากการใช้สติปัญญา ความรู้ ความสามารถและความวิริยะอุตสาหะ
ในการสร้างสรรค์งานให้เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็น ทรัพย์สินทางปัญญา ประเภทหนึ่งที่มีคุณค่า
ทางเศรษฐกิจ ดังนั้น เจ้าของผลงานทางลิขสิทธิ์จึงควรได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย

                   ลิขสิทธิ์ เป็นทรัพย์สินประเภทที่สามารถ ซื้อ ขาย หรือโอนสิทธิกันได้ ทั้งทางมรดก หรือโดยวิธีอื่น ๆ การโอนสิทธิ์ควรที่จะทำเป็นลายลักษณ์อักษร หรือทำเป็นสัญญาให้ชัดเจน จะโอนสิทธิทั้งหมด
หรือเพียงบางส่วนก็ได้

และเนื่องจากการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีการสื่อสารบนระบบอินเทอร์เน็ต ทำให้บุคคลทุกระดับทั้งผู้ให้บริการ ผู้เผยแพร่ และผู้ใช้ข้อมูลข่าวสารมีสิทธิเสรีภาพที่จะแสดงความคิดเห็น การนำเสนอข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่างๆ ทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง หรือสื่อมัลติมีเดียอื่นๆ บนอินเทอร์เน็ต ซึ่งสามารถทำได้โดยง่ายและมีค่าใช้จ่ายต่ำ
                ด้วยเหตุนี้จึงก่อให้เกิดแนวคิดในการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลข่าวสารบนอินเทอร์เน็ตโดยอาศัยเว็บไซต์ หรืบริการอื่นๆ บนอินเทอร์เน็ตมาปรับใช้กับงานในห้องสมุดเพื่อลดต้นทุนการดำเนินงานของห้องสมุด และลดข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้เพื่ออำนวยความสะดวก และเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้ใช้พึงพอใจมากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการสนับสนุนให้เกิดการนำไปใช้เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ทั้งนี้ผลกระทบเกี่ยวกับสิทธิและลิขสิทธิ์ ในผลงานจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการให้บริการของห้องสมุดโดยใช้เทคโนโลยี Library 2.0
Library 2.0 หรือ ห้องสมุด 2.0 เป็นการประยุกต์แนวคิดในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยี Web 2.0 ที่เน้นการสร้างสรรค์เว็บ บริการ และเผยแพร่สารสนเทศโดยทั้งผู้ใช้และผู้ให้บริการ มีส่วนร่วมในการพัฒนาบริการต่างๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการมากที่สุด อย่างไรก็ตามการที่ผู้ใช้และผู้ให้บริการสามารถเผยแพร่สารสนเทศได้อย่างอิสระ รวมไปถึงการนำข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่ต่างๆ มาเผยแพร่ จึงทำให้เกิดผลกระทบในแง่ของลิขสิทธิ์ และสิทธิทั้งในงานบริหาร งานบริการ และงานเทคนิค รวมไปถึงผลกระทบของ Library 2.0 ในแง่ของลิขสิทธิ์กับผู้ใช้บริการห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศที่เปลี่ยนไป

กฎหมายลิขสิทธิ์ไทย
      กฎหมายลิขสิทธิ์ไทย เป็นกฎหมายที่ประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. 2537 กำหนดงานที่ได้รับความคุ้มครอง อันได้แก่ งานสร้างสรรค์ประเภท วรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด (กรมทรัพย์สินทางปัญญา, 2537)

ขอบเขตคุ้มครองงานสร้างสรรค์
1.ทำซ้ำหรือดัดแปลง
2.เผยแพร่ต่อสาธารณชน
3.ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง
4.ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
5.อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิดังกล่าวข้างต้น โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ก็ได้ แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะกำหนดในลักษณะที่เป็นการจำกัดการ แข่งขันโดยไม่เป็นธรรมไม่ได้



การละเมิดลิขสิทธิ์
      กฎหมายลิขสิทธิ์กำหนดพฤติกรรมใดว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์งานของผู้อื่นไว้ชัดเจน ได้แก่ การทำซ้ำหรือดัดแปลง เผยแพร่งานต่อสาธารณชน ซึ่งงานลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยมิได้รับอนุญาต ส่วนงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นได้เพิ่มการกระทำละเมิดอีกอย่างหนึ่งไว้ คือ การให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางาน หากผู้ใดกระทำการดังกล่าว ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ต้องรับโทษอาญาและจ่ายค่าเสียหายแก่เจ้าของงานด้วย หากผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำการต่อไปนี้แก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย ได้แก่
1.ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเสนอให้เช่าซื้อ
2.เผยแพร่ต่อสาธารณชน
3.แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ เจ้าของลิขสิทธิ์
4.นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร

โทษการละเมิดลิขสิทธิ์
      กฎหมายคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์ แล้วกำหนดโทษหนักแก่ผู้ทำละเมิดไว้ชัดเจน การละเมิดต่องานของผู้สร้างสรรค์ทั้งทำซ้ำ ดัดแปลงงาน เผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับความยินยอมตามกฎหมาย ต้องมีโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หากพฤติกรรมทำละเมิดดังกล่าวเพื่อการค้า ผู้กระทำจะมีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ 

เวลาคุ้มครองงาน
     กฎหมายคุ้มครองสิทธิและประโยชน์ของผู้สร้างสรรค์งานโดยมีบทลงโทษเข้มงวดแล้ว ยังกำหนดระยะเวลาไว้ด้วย โดยให้คุ้มครองตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และมีอยู่ต่อไปอีกห้าสิบปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย ซึ่งทายาทของผู้สร้างสรรค์จักหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์นี้ได้ในช่วงนั้น เมื่อพ้นห้าสิบปีแล้ว งานชิ้นนี้จะตกเป็นสมบัติของแผ่นดินซึ่งรัฐจะเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ต่างๆ รวมทั้งดูแลมิให้เกิดการดัดแปลงงานดังกล่าวไปเกินขอบเขตอันควรหรือเป็นการทำลายงานชิ้นนั้น คนไทยสามารถนำไปตีพิมพ์ เผยแพร่งานต่อสาธารณชนได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์แก่ทายาทผู้สร้างสรรค์อีกต่อไปอันถือเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน




งานไม่มีลิขสิทธิ์
      กฎหมายลิขสิทธิ์กำหนดงานที่ถือว่าไม่มีลิขสิทธิ์ไว้ด้วย หมายความว่า ทุกคนสามารถนำชิ้นงานทั้งหมดหรือบางส่วนไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือส่วนรวมได้โดยไม่ต้องขออนุญาตหรือจ่ายค่าตอบแทนก่อน อันได้แก่
1.ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่างๆที่มีลักษณะเป็น เพียงข่าวสารอันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
2.รัฐธรรมนูญ และ กฎหมาย
3.ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือ  โต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือ หน่วยงานอื่นใด ของรัฐหรือของท้องถิ่น
4.คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทาง  ราชการ
5.คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆตาม ข้อ 1 ถึง 4 ที่ กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น

ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์เป็นความพยายามสร้างดุลแห่งผลประโยชน์ระหว่างเจ้าของลิขสิทธิ์และผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ โดยให้บุคคลอื่นสามารถใช้งานลิขสิทธิ์ได้ตามความเหมาะสมโดยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นการจำกัดสิทธิแต่ผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ลงภายใต้เงื่อนไขบางประการ เงื่อนไขที่สำคัญที่สุด บัญญัติไว้ในมาตรา 32 วรรคแรก ดังนี้
            1.การกระทำต้องไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์
            2.การกระทำนั้นไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร
           ข้อยกเว้นทั่วไป มีบัญญัติไว้ในมาตรา 32 วรรคสอง ที่บัญญัติให้การกระทำบางอย่างเป็นข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ ตั้งแต่ข้อยกเว้น 1-8  เช่น การวิจัยหรือศึกษางาน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร  นอกจากข้อยกเว้นทั่วไปตามมาตรา 32 วรรคสองแล้ว ยังมีข้อยกเว้นเฉพาะซึ่งมีบัญญัติไว้ในมาตรา 33 กรณีคัดลอกโดยมีการอ้างอิง เป็นการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงาน ไม่ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ยังมีข้อยกเว้นอื่นๆ เช่น ข้อยกเว้นสำหรับการกระทำของบรรณารักษ์ห้องสมุดตามมาตรา 34 ข้อยกเว้นสำหรับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตามมาตรา 35 ข้อยกเว้นสำหรับการแสดงงานนาฏกรรมหรือดนตรีกรรมตามมาตรา 36 ข้อยกเว้นสำหรับงานศิลปกรรมตามมาตรา 37, 39, 40 ข้อยกเว้นสำหรับงานสถาปัตยกรรมตามมาตรา 38, 41 ข้อยกเว้นสำหรับงานลิขสิทธิ์ต่างๆในภาพยนตร์ ตามมาตรา 42 และข้อยกเว้นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการตามมาตรา 43

ผลกระทบของ ของลิขสิทธิ์กับงานบริการ
      เนื่องจากความต้องการบริโภคข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศต่างๆมากขึ้น เพื่อใช้ประกอบกับการตัดสินใจ ในเรื่องต่างๆ มากมายในยุคสังคมแห่งการเรียนรู้ การนำเทคโนโลยีมาอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้จึงเป็นแนวทางที่จะทำให้ผู้ใช้เข้าถึงสารสนเทศได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ การนำเครื่องมือ Library 2.0 มาใช้จึงเป็นแนวทางหนึ่งผู้ให้บริการสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และในทางเดียวกันผู้ใช้ก็สามารถนำเสนอและเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศต่างๆ ได้เช่นกัน
        จากการที่ผู้ใช้และบุคคลทั่วไปสามารถเผยแพร่สารสนเทศประเภทต่างๆ ได้อย่างอิสระ จึงทำให้เกิดผลกระทบต่อลิขสิทธิ์ ในด้านงานบริการในงานต่างๆ ดังนี้ 
·   งานยืม-คืน  (Circulation Service) ในส่วนของงานบริการยืม-คืนนั้น จะกล่าวรวมไปถึง การให้บริการหนังสือสำรอง การให้บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Inter Library Loan) ในการทำซ้ำเพื่อให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นการส่งทาง E-mail หรือการให้บริการผ่านเครื่องมือ Library 2.0 เช่น การให้บริการผ่าน Wiki เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ แต่ในทางกลับกันการให้บริการเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ใช้ในการศึกษาค้นคว้า โดยไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า และแสวงหาผลกำไร ก็ไม่ถือว่าขัดกับกฎหมายลิขสิทธิ์ แต่อย่างใด
·   งานบริการโสตทัศนวัสดุและอุปกรณ์ (Audio – Visual Service) ให้บริการโสตทัศนวัสดุ เช่น ภาพนิ่ง วัสดุย่อส่วน ภาพยนตร์ รูปภาพ แผนที่ แผนภูมิ แผนที่ เทปบันทึกเสียง แผ่นเสียง เป็นต้น รวมไปถึงการจัดฉายสื่อโสตทัศนวัสดุอีกด้วย ทั้งนี้ โสตทัศนวัสดุอาจได้มาโดยการจัดซื้อ จัดหา ห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศนั้นจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์สื่อโสตทัศนวัสดุนั้น ส่วนลิขสิทธิ์ก็ยังคงเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์อยู่เช่นเดิม ที่ผู้อื่นจะละเมิดมิได้ หรือ การผลิตสื่อโสตทัศน์ขึ้นเอง ซึ่งจะทำให้ห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศนั้นมีฐานะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์สื่อโสตทัศน์ชิ้นนั้น  เช่น วิดิทัศน์แนะนำห้องสมุด แนะนำการบริการ เป็นต้น และเมื่อนำ library 2.0 มาใช้ในงานบริการสื่อโสตทัศนวัสดุ ผู้ให้บริการก็สามารถอัพโหลด สื่อ โสตทัศนวัสดุ ทั้งนี้การนำโสตทัศนวัสดุ มาจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่สื่อที่ผลิตขึ้นเอง จะต้องแสดงที่มาของโสตทัศนวัสดุนั้น เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ รวมไปถึงตรวจสอบสิทธิในการเผยแพร่ของสื่อโสตทัศนวัสดุนั้นก่อนการให้บริการด้วย

                ตัวอย่างการกำหนดสิทธิ์การค้นหา รูปภาพ ของ Google
                การค้นหารูปภาพ ผ่าน Google สามารถกำหนดสิทธิ์การใช้งานรูปภาพได้ โดยผู้ใช้สามารถเลือกให้แสดงรูปภาพ ที่ไม่ถูกกรองด้วยป้ายกำกับ (Not filtered by license) ติดป้ายกำกับว่าสามารถนำไปใช้งานซ้ำได้ (Labeled for reuse) ติดป้ายกำกับว่าสามารถนำไปใช้งานซ้ำในเชิงพาณิชย์ได้ (Labeled for commercial reuse) ติดป้ายกำกับว่าสามารถนำไปใช้งานซ้ำและแก้ไขได้ (Labeled for reuse with modification) และรูปภาพที่ติดป้ายกำกับว่าสามารถนำไปใช้งานซ้ำเชิงพาณิชย์และแก้ไขได้ (Labeled for commercial reuse with modification) ซึ่งสามารถค้นหาได้จากการค้นหาขั้นสูง (Advance search) ของ Google image
                ด้วยการกำหนดการแสดงผลรูปภาพของ Google Image จึงเป็นตัวอย่างที่ดีในการให้บริการ เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์รูปภาพที่มีลิขสิทธิ์

การให้บริการของห้องสมุด
      ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตราที่ 34 ที่ว่าด้วย การทำซ้ำโดยบรรณารักษ์ ไม่ได้เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แล้วแต่ก็ควรคำนึงถึงหลักการใช้บนหลักของการใช้งานโดยธรรม (Fair Use) 

หลักการใช้งานโดยธรรม (Fair use)
    
  หลักการใช้งานโดยธรรมเป็นถ้อยคำในกฎหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐอเมริกา  กล่าวคือ การอนุญาตให้ ทำสำเนา งานที่มีลิขสิทธิ์ ในจำนวนจำกัด เพื่อวัตถุประสงค์ในการศึกษาและวิจัย การทำสำเนาเพื่อวัตถุประสงค์ใช้ในการวิจารณ์ รายงานข่าว ใช้ในการสอน (รวมถึงการทำสำเนาหลายชุดเพื่อใช้ในห้องเรียน) งานวิชาการ หรืองานวิจัย ไม่ถือว่าละเมิดต่อกฎหมายลิขสิทธิ์ และไม่ต้องขออนุญาต ดังที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 หมวดที่ 1 ส่วนที่ 6 ว่าด้วยข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ (ไชยยศ เหมะรัชตะ, 2541)

 ปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณา “ Fair use”
                ปัจจัยในการพิจารณาการใช้งานโดยธรรม หรือ Fair use ขึ้นอยู่กับปัจจัย 4 ประการ ดังนี้
1.  พิจารณาวัตถุประสงค์ และลักษณะการใช้ จะต้องพิจารณาว่านำผลงานไปใช้ใช้เพื่อการค้าหรือ เพื่อการศึกษาที่ไม่แสวงผลกำไร หรือไม่ หากนำไปใช้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า หรือแสวงหาผลกำไร จะไม่ถือว่าเป็นการใช้โดยธรรม
2.  ลักษณะของผลงานที่สงวนลิขสิทธิ์ การใช้งานในบางลักษณะสามารถทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ เพราะถือว่าเป็นการใช้งานโดยธรรม เช่น การใช้เพื่อการศึกษา การใช้เพื่อการเรียนการสอน เป็นต้น
3.  ปริมาณส่วนที่ใช้เมื่อเทียบกับผลงานที่สงวนลิขสิทธิ์ผลงานนั้น กล่าวคือ การนำผลงานต่างๆมาใช้  เช่น การทำสำเนาผลงานจะต้องกำหนดปริมาณที่เหมาะสม
4.    ผลกระทบอันอาจจะมีต่อแนวโน้มของตลาดหรือมูลค่าของงานที่ได้รับ การสงวนลิขสิทธิ์ การพิจารณาถึงผลกระทบ






 

วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แนวโน้ม E-publishing and IR .

แนวโน้ม E-publishing.


ในยุคปัจจุบันเป็นยุคข้อมูลข่าวสารที่ไร้พรมแดน ทำให้เกิดระบบการพัมนาการสื่อสารที่กว้างไกล และ รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ข้อมูลข่าวสารเป็นสิ่งที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน และ อยู่รอบๆตัว จึงต้องเกิดการเผยแพร่แบ่งปันความรูแบบสมัยใหม่ ที่ทันสมัย ทันต่อยุคและทันต่อเหตุการณ์มากขึ้นตามไปด้วย
E-publishing คือ สื่อสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีให้บริการบนเว็บไซต์  โดยคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลาง ในการเข้าถึง สารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์  เพียงแต่ไม่ได้พิมพ์ออกมาเท่านั้น  นอกไปจากนั้น  ยังสามารถใส่ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และยังสามารถเชื่อมโยงข้อมูลไปยังข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อีกด้วย และเนื่องจากการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ได้รับความนิยมอย่างมากเพราะเกิดความสะดวก รวดเร็ว เข้าถึงได้ง่าย และประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายจึงทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา
หนังสือหรือเอกสารที่เก็บอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือเก็บไว้อยู่ในแบบของไฟล์ โปรแกรมส่วนมากที่เข้าใจกันคือหนังสือที่เก็บในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ต้องใช้กระดาษและมีการสร้างจากคอมพิวเตอร์ และสามารถอ่านได้จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างคอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ้ก ปาล์ม พ็อกเก็ตพีซี หรือกระทั่งอ่านได้จากโทรศัพท์มือถือบางรุ่น
ทรัพยากรสารสนเทศมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบที่ทันสมัยและไม่หยุดนิ่งอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น E-publishing จึงมีบทบาทกับคนยุคปัจจุบันอย่างมาก
E-Publishing  สามารถเข้าถึงได้ง่าย ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ทุกที่ ทุกเวลา ไม่จำเป็นต้องมาใช้ที่ห้องสมุดเท่านั้น  และยังสามารถเข้าถึงได้อย่างสาธารณะ อีกทั้งสถาบันสารสนเทศเองก็ประหยัดงบประมาณในการสั่งซื้อ และประหยัดสถานที่ในการจัดเก็บสารสนเทศอีกด้วย( Information Overload )  จึงทำให้แนวโน้มการใช้ E- Publishing เพิ่มขึ้นตลอดเวลา




IR (Institutional Repositories).


คลังเก็บทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล ที่เกิดภายในความร่วมมือขององค์กรในการจัดทำและรวบรวมสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งมีการจัดเก็บเป็นศูนย์รวม มีการสงวนรักษา และมีการจัดทำดัชนีที่ได้มาตรฐาน สามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศเหล่านั้นได้ กล่าวได้ว่า คลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบันเป็นบริการจัดการและเผยแพร่งานในรูปแบบดิจิทัลอันเป็นผลงานหรือผลผลิตของสมาชิกในประชาคมนั้น ๆ และผู้ใช้ทั้งภายในและภายนอกสามารถเข้าถึงได้ และเผยแพร่ในรูปของดิจิทัล รวมทั้งการสงวนรักษาผลงานเหล่านั้นให้คงไว้ในระยะยาว และถือเป็นบทบาทหลักของมหาวิทยาลัย หน่วยงานวิจัย ในการเผยแพร่ผลงานต่าง ๆ เหล่านี้ออกสู่โลกภายนอกให้ผู้ใช้ได้สามารถเข้าถึงได้ง่าย สะดวก ตรงต่อความต้องการมากที่สุด