วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อบรม กับ อ.บุญเลิศ อรุณพิบูลย์


Cloud Computing
              เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรา ทั้งนี้ในปัจจุบันเราได้ใช้ซอฟต์แวร์ที่ให้บริการผ่าน Cloud กันอย่างมากมายอาทิเช่น Facebook, Gmail, Hotmail และ Dropbox ระบบซอฟต์แวร์เหล่านี้ทำงานอยู่บน Data Center ขนาดใหญ่ มีความเสถียรและสามารถยืดยุ่น (Elastic) ได้ตามจำนวนผู้ใช้งาน เปรียบเสมือนการใช้ไฟฟ้าในบ้านหรือองค์กรขนาดใหญ่ได้ ที่เราไม่จำเป็นต้องมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเอง แต่เราสามารถมอบหมายหน้าที่การผลิตไฟฟ้านั้นให้กับการไฟฟ้า และเราจ่ายค่าบริการตามการใช้งานจริง ซอฟต์แวร์ที่อยู่บน Cloud ก็เช่นกัน เราจะใช้ซอฟต์แวร์จากผู้ให้บริการโดยไม่ต้องมี Server หรือ Data center ในบ้านหรือองค์กรและจ่ายใช้ซอฟต์แวร์ตามการใช้งานจริง

          แยกตามการให้บริการ
-          Public cloud คือการให้บริการแบบกลุ่มสาธารณะหรือระดับองค์กร
-          Pivate cloud คือการให้บริการแบบระดับส่วนบุคคล เช่น Facebook Gmail เป็นต้น
-          Hybrid Cloud คือการให้บริการแบบ2ทางเลือก หรือแบบผสมทั้งแบบระดับองค์กรและส่วนบุคคล
แยกตามประเภทของเทคโนโลยี
-          SaaS (Softwere as a Service) เป็นผู้ให้บริการที่ยอมทำซอฟแวร์เหมือนMicrosoft ให้ใช้งานโดยไม่ต้องติดตั้งทีละเครื่องๆ เช่น zoho.com, docs.google.com
-          IaaS (Infrastructure as a Service)
-          Paas (PlatForm as a Service)

*** Black April คือ เหตุการณ์ที่ระบบเทคโนโลยี ต่างล่มโดยมิได้นัดหมายในเดือนเมษายน 2011ที่ขอเรียกได้ว่าเป็น “Black April” เดือนที่เกิดความโกลาหลในอุตสาหกรรมไอซีที ไปพอสมควร ไม่เพียงแต่ในต่างประเทศ บ้านเราระบบไทยคมก็ทำเอาหน้าจอมืดไปร่วมสามชั่วโมง ยักษ์ใหญ่แห่งธุรกิจค้าปลีกออนไลน์อย่าง Amazon ส่งผลให้องค์กรนี้มีระบบไอทีที่เข้มแข็งมาก ขนาดที่เข้ามายืนอยู่แถวหน้าได้ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือด โดยเฉพาะบริการคลาวด์ (Cloud service) ที่ได้รับการกล่าวขานถึง เป็นกรณีศึกษาของธุรกิจ Cloud computing มาหลายครั้งหลายหน แต่ในที่สุดก็ไม่พ้นกับปัญหาการให้บริการจนได้ สอดคล้องกับคำพระสอนที่ว่า ทุกอย่างเป็นสิ่งไม่เที่ยง
ล่าสุดทาง Amazon ได้ออกมาชี้แจงทางเหตุทางเทคนิคที่ทำให้ไม่สามารถให้บริการได้ บนบริการ Elastic Compute Cloud หรือ EC2 ส่งผลให้บริการจากหลายบริษัทไม่สามารถใช้งานได้ อาทิเช่น Foursquare, Hootsuite, Reddit และ Quoro
ปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลให้ผู้ใช้บริการบางราย สูญเสียข้อมูลบางส่วนไปเนื่องจากปัญหาทางเทคนิค ทาง Amazon ได้ออกมารับผิดชอบด้วยการคืนเครดิตเป็นจำนวนวัน เพื่อชดเชยช่วงเวลาที่ไม่สามารถให้บริการได้ แม้จะออกมาแสดงความรับผิดชอบแล้ว แต่ยังก่อให้เกิดความเสียหายไม่เพียงกับตัวบริษัทเท่านั้น แต่ส่งผลเชิงลบต่อภาพรวมของบริการคลาวด์ (Cloud service) ที่คุยนักคุยหนาว่า หนังเหนียวไม่มีทางล่ม แต่ครั้งนี้ก็กินเวลาไปเป็นวัน
ทาง Amazon ได้กล่าวว่า ทางบริษัทเข้าใจถึงความสำคัญของธุรกิจของผู้ใช้บริการ และจะทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อเรียนรู้จากบทเรียนครั้งสำคัญนี้ แล้วนำไปใช้ปรับปรุงบริการของตัวเองให้ดียิ่งขึ้น แม้จะมีการชดเชยให้กับลูกค้าแต่ก็มิได้มีการเปิดเผยตัวเลข ว่าทำให้บริษัทสูญเสียไปเท่าใด คงจะต้องมาคอยติดตามจากรายงายผลประกอบการกันอีกทีหนึ่ง
Amazon จัดเป็นผู้นำด้านค้าปลีกบนโลกออนไลน์ ที่ไม่มีใครไม่รู้จัก โดยเฉพาะหนอนหนังสือด้วยแล้ว คงจะรู้จักกันเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นผู้ให้บริการ Cloud computing รายใหญ่ มีลูกค้าเช่าใช้บริการเซิร์ฟเวอร์จากทั่วทุกมุมโลก แม้ว่ารายได้จากบริการ Amazon Web Services (AWS) จะคิดเป็นสัดส่วนไม่มากเมื่อเทียบกับรายได้ทั้งหมด แต่ทางบริษัทให้ความสำคัญกับบริการนี้มาก โดยเห็นว่าเป็นบริการที่มีศักยภาพ เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของบริษัทในอนาคต
สิ่งที่เกิดขึ้นในวันที่ 21 เมษายน 2011 คือ ดาต้าเซนเตอร์ (Data center) ที่ตั้งอยู่ใกล้กับสนามบิน Dulles ใกล้กับ Washington ซึ่งเป็นที่ตั้งของอุปกรณ์หลักสำหรับบริการ EC2 แม้จะผ่านไปเป็นสัปดาห์ทางบริษัทก็ยังต้องพยายามกู้เซิร์ฟเวอร์บางส่วนอยู่ การใช้บริการไม่ได้ของ Public cloud ครั้งนี้ เป็นการตอกย้ำถึงความเสี่ยงในการโยกย้ายระบบเข้าสู่ระบบคลาวด์ (Cloud) สอดคล้องกับการสำรวจทุกครั้ง ที่เรามักจะเห็นความกังวลลำดับต้นๆ สำหรับผู้ที่ต้องการจะเข้ามาใช้บริการคลาวด์ (Cloud service) คำนึงถึง ความเสถียรของระบบ ความปลอดภัยของระบบ ความเสี่ยงในเรื่อง Service reliability ความเสถียรของระบบ มีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากธุรกิจที่อยู่บนโลกออนไลน์ ถ้าเว็บมีปัญหาเข้าไม่ได้ ก็เหมือนกับมีร้านแต่ปิดให้บริการ ลูกค้าจะมาใช้บริการก็ไม่ได้ อย่างไรก็ตามสำหรับธุรกิจบนออนไลน์แล้ว การที่เว็บไม่สามารถเข้าใช้งานได้ดูจะเป็นเรื่องใหญ่ กระทบถึงความเชื่อมั่น

วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

The evolution of Electronic book (E-Book)

พัฒนาการของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (The evolution of E-Book)

        ในปัจจุบันนี้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้รับความนิยมมากขึ้นเนื่องจากเกิดความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาให้เกิดหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถรองรับสื่อได้ในหลากหลายรูปแบบ เกิดความสะดวก และง่ายต่อการเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา

 
            ความหมาย Electronic Book (E-Book)

            หรือ"หนังสืออิเล็กทรอนิกส์"ซึ่งจัดทําขึ้นด้วย ระบบคอมพิวเตอร์ และ สามารถอ่านได้จากหน้าจอคอมพิวเตอร์
เหมือนเปิดอ่านจากหนังสือ โดยตรงที่เป็นกระดาษ แต่ไม่มีการเข้าเล่ม เหมือนหนังสือที่เป็นกระดาษ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีความสามารถมากมายคือ มีการเชื่อมโยง (Link) กับ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มอื่นๆได้ เพราะอยู่บนเครือข่าย www และมีบราวเซอร์ที่ทำหน้าที่ดึงข้อมูลมาแสดงให้ ตามที่เราต้องการเหมือนการเล่นอินเตอร์เน็ตทั่วไปเพียงแต่เป็นระบบหนังสือบนเครือข่ายเท่านั้น หนังสือ อิเล็กทรอนิกส์สามารถแสดงข้อความ รูปภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหวได้ เราสามารถอ่านหนังสือ ค้นหาข้อมูล และสอบถามข้อมูลต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก ได้จากอินเตอร์เน็ต จากคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว


ลักษณะไฟล์ของ Electronic Book (Format)
         
            e-Book เป็นไฟล์ที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ แต่ ไม่ได้แสดงถึงคำจำกัดความที่ลงลึกไปถึงรายละเอียดว่าสร้างจากโปรแกรมอะไร ต้องมีรูปแบบไฟล์แบบไหน ทำให้ไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจน   e-Book จะมีลักษณะเป็นไฟล์ที่เก็บในคอมพิวเตอร์จะมี format หรือไฟล์รูปแบบนามสกุลต่างๆ ที่เป็น e-book ได้แก่ ไฟล์นามสกุล pdf, rtf, xml,html ฯลฯ    แต่ที่นิยมใช้มากเป็นไฟล์ประเภทคือ  pdf  และ html เพราะนอกจากจะมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ไฟล์ทั้งสองประเภทมีคุณสมบัติอื่น เช่น การสร้างสารบัญ การใส่ไฟล์รูปภาพ เสียง หรือวีดีโอ
        HTML เป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมสูงสุดงานประเภทนี้จะมีนามสกุลของไฟล์หลายๆ แบบเช่น .htm หรือ .html เป็นต้น สาเหตุหลักที่ได้รับความนยมสูงสุดนั้นมาจากบราวเซอร์สํ าหรับเข้าชมเว็บต่างๆ เช่น Internet Explorer ที่ใช้กันทั่วโลกสามารถอ่านไฟล์ HTML ได้
          PDF Portable หรือ Document Format พัฒนาขึ้นเพื่อจัดการเอกสารให้อยู่ใน รูปแบบที่เหมือนเอกสารพร้อมพิมพ์ ไฟล์ประเภทนี้สามารถอ่านได้โดยระบบปฏิบัติการจํ านวนมากและรวมถึง อุปกรณ์ E-Book Reader ด้วย


ข้อดี E – book
          1. ไม่เปลืองกระดาษ (ถ้าสร้าง E – Book ไม่ต้องตัดต้นไม้เพื่อผลิตกระดาษ)
          2. เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน ทันสมัย
          3. เปิดดูและเปิดอ่านได้ตลอดเวลาทุกสถานที่
          4. ไม่สิ้นเปลืองในการจัดเก็บ ไม่ต้องดูแลรักษา
          5. ไม่ชำรุด ศูนย์หาย (ถ้าเจ้าของ E – Book ไม่ต้องลบออกจากไฟล์)
          6. ปรับปรุงแก้ไขได้ทุกเวลาทุกสถานที่ (ถ้าเป็นเจ้าของ E – Book)
          7. ลงทุนในการทำน้อย
       ประโยชน์ E – Book สำหรับผู้เขียนและสำนักพิมพ์
1. ลดขั้นตอนในการจัดทำหนังสือ
2. ลดค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงในการจัดพิมพ์หนังสือ
3. ลดค่าใช้จ่ายการจัดจำหน่ายผ่านช่องทางอื่นๆ
4.เพิ่มช่องทางในการจำหน่ายหนังสือ
5. เพิ่มช่องทางในการประชาสัมพันธ์ตรงถึงผู้อ่าน
          ประโยชน์ E – Book สำหรับห้องสมุด
1. สะดวกในการให้บริการ
2. ไม่ต้องใช้สถานที่มากมายในการจัดเก็บ ไม่เสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้
3. ลดงานที่เกิดจากการซ่อม เก็บ จัดเรียง
4. ไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น จากการจ้างพนักงานมาดูแล และซ่อมแซม
5. มีรายงานหรือสถิติแสดงการเข้ามาอ่านหนังสือ
          ประโยชน์ E – Book สำหรับผู้อ่าน
1. ขั้นตอนง่ายในอ่าน ในการค้นหาหนังสือ
2. ไม่เปลืองที่ในการเก็บหนังสือ
3. อ่านหนังสือได้จากทุกที่ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
4. ไม่เสียงค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

ข้อเสีย E – book
          1. ต้องอาศัยพลังงานในการอ่านตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าหรือแบตตารี่
            2. เสียสุขภาพสายตา จากการได้รับแสงจากอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์
            3. ขาดความรู้สึก หรืออรรถรส หรือความคลาสสิค


           
E-Book Reader

E-Book Reader คือ  อุปกรณ์แสดงผลอิเลคทรอนิคส์ที่รองรับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 หรือ 3G  เป็นนวัตกรรมที่อำนวยความสะดวกให้ผู้อ่านหนังสืออิเลคทรอนิคส์ ที่ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนก็ตามคุณก็สามารถดาวน์โหลดหนังสือที่คุณต้องการลง มาอยู่ในอุปกรณ์ได้ทันที ไม่จำเป็นต้องพกพาหนังสือจำนวนมากๆติดตัว ทั้งช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและลดการตัดต้นไม้เพื่อมาผลิตเป็นหนังสือ นอกจากนั้นยังสามารถไปประยุกต์ใช้งานเป็นอุปกรณ์เสริมทางการศึกษา เพียงคุณมี อุปกรณ์ 3G e-Book Reader และ เครือข่าย 3G  ชีวิตก็สะดวกสบายยิ่งขึ้น
            ซึ่งในปัจจุบันมีหลายค่าย หลายบริษัท ได้ทำการค้นคว้าอุปกรณ์  e-Book Reader  พร้อมทั้งให้บริการดาวน์โหลดหนังสือ โดยมีทั้งแบบสั่งซื้อก่อนดาวโหลดและทดลองอ่านฟรีในบางเล่ม
สำหรับบริษัทหรือ เว็บไซต์ที่ให้บริการด้านนี้ มีมากมายหลายบริษัท ยกตัวอย่าง เช่น www.amazon.com, www.barnesandnoble.com (Barns and Noble) และ ebookstore.sony.com (Sony) เป็นต้น

Kindle จาก Amazon.com

Ipad จาก Apple (pic)

Galaxy tap (pic)


ข้อดีของ e-Book reader

          1. การอ่านหนังสือจะเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น เพราะหากมี e-Book Reader เพียงเครื่องเดียวก็เหมือนกับมีหนังสือเป็นพัน ๆ เล่ม
            2. การอ่านหนังสือจะเป็นเรื่องที่ไม่น่าเบื่อ เพราะ e-Book Reader มีความสามารถที่จะแสดงผลด้วยภาพ ข้อความ เสียง และมีภาพเคลื่อนไหวได้ด้วย แต่จะแสดงเป็นสีหรือขาวดำนั้นก็ขึ้นอยู่กับชนิดของ e-Book Reader เช่น Kindle ของ Amazon แสดงเป็นขาว-ดำ ส่วน iPad แสดงเป็นสี
            3. ผู้อ่านสามารถย้อนกลับไปอ่านหน้าที่ผ่านมาแล้วได้สะดวกและง่าย เพราะบางทีการอ่านหนังสือที่เป็นกระดาษที่เป็นเล่มหนา ๆ การจะกลับไปค้นหาคำบางคำเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก
            4. จากความสามารถในการเชื่อมโยงกับข้อความต่าง ๆ ภายในตัวหนังสือ หรือภายนอกเว็บไซต์อื่น ๆ จากอินเตอร์เน็ต ทำให้สามารถได้รับสารที่รวดเร็วและถูกต้องมากขึ้นตลอดเวลา
            5. การกระจายสื่อทำได้อย่างรวดเร็ว และกว้างขวางกว่าสื่อที่อยู่ในรูปสิ่งพิมพ์ เพราะการส่ง content จำนวนพัน ๆ หน้าสามารถทำได้เร็วกว่าที่จะต้องไปถ่ายเอกสารหนังสือทั้งเล่ม ซึ่งบางทีก็ไม่ชัด และเสียเวลา
            6. บางครั้งความต้องการในอ่านหนังสือเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ความสามารถในอ่านพร้อม ๆ กันได้หลาย ๆ คน โดยไม่ต้องรอยืม หรือคืนเหมือนหนังสือที่เป็นกระดาษในห้องสมุด ทำให้เกิดความสะดวกมากขึ้น
            7. สามารถอ่านได้หลาย ๆ ครั้ง เพราะไม่ยับและไม่เสียหายเหมือนหนังสือที่เป็นกระดาษ
            8. e-Book Reader มีเสียงประกอบหรืออ่านออกมาเป็นเสียงได้ เพื่อผู้พิการทางสายตาหรือผู้ที่ต้องการพักสายตา และสามารถเลือกได้ว่าจะเป็นเสียงผู้หญิงหรือเสียงผู้ชาย
            9. เนื่องจาก e-Book Reader ไม่ต้องใช้กระดาษในการผลิต ดังนั้นจึงช่วยด้านสิ่งแวดล้อม เพราะไม่ต้องมีการตัดต้นไม้มาทำเป็นกระดาษก่อน
            10. ไม่ต้องมีการพิมพ์หมึกลงไปบนกระดาษ ทำให้ไม่เปลืองหมึกพิมพ์
            11. ลดขั้นตอนการจัดส่ง ก็จะทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลงได้ ทำให้สามารถจำหน่ายในราคาได้ในราคาที่ถูกกว่าหนังสือที่เป็นกระดาษ
            12. นักเขียนสามารถขายผลงานของตนเองได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านโรงพิมพ์หรือสำนัก พิมพ์ใดๆ ทำให้ราคาถูกลง และน่าจะเป็นโอกาสที่ทำให้เกิดนักเขียนใหม่ ๆ ขึ้นมาได้ง่ายมากขึ้น
            13. เกิดห้องสมุดเคลื่อนที่ (E-Library) และเพิ่มมูลค่าให้กับ E-Learning
            14. ทำสำเนาได้ง่าย และ สามารถ update ได้รวดเร็ว ไม่มีความตายตัว
            15. มีความทนทาน สะดวกต่อการเก็บรักษา ลดปัญหาการจัดเก็บ (Thumb Drive 1 GBสามารถเก็บ e-Book ได้กว่า 500 เล่ม)
            16. มีความสะดวกสบาย ไม่ต้องเดินทางไปร้านหนังสือเพื่อซื้อหนังสือ เพราะว่าอยู่ที่ไหนก็สามารถทำได้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องอยู่ในพื้นที่ที่มีสัญญาณ Wi-Fi และ 3G



วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Gold OA & Green OA

Gold OA

คือ สิ่งที่ตีพิมพ์ในวารสารของสำนักพิมพ์ทั่วไป แต่ผู้เขียนมีสิทธิ์นำบทความมาจัดเก็บไว้ใน author's homepage เพื่อนำไปเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ตต่อได้ เผยแพร่โดยทั่วไปผ่านระบบออนไลน์โดยตัวผู้แต่งเองจะเป็นผู้ดำเนินการ และจัดการเอง


 
ประเภทของ OA Journal

1.       Born OA Publishers  >>   วารสารที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อน
2.       Conventional Publishers  >>  วารสารเชิงพาณิชย์
3.       Non-Traditional Publishers  >>  วารสารที่จัดทำขึ้นโดยไม่หวังผลกำไร  


ลักษณะของ OA Journal 
1.     เป็นวารสารบทความทางวิชาการ
2.     มีคุณภาพ ลักษณะเหมือนวารสารทั่วไป เช่น  editorial oversight เป็นต้น
3.     เป็นบทความดิจิทอล ( digital )
4.     ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าถึง และใช้บริการ
5.     ผู้แต่งยังคงมีสิทธิ์ในตัวบทความนั้นอยู่
6.     ผู้แต่งสามารถใช้ CC หรือ licenses อื่น ๆ ได้


Green OA
คือ เอกสาร บทความ รวมไปถึง วารสาร  ที่ผู้แต่งนำส่งสำนักพิมพ์ ตีพิมพ์ทั่วไป  แต่ผู้เขียนยังคงมีสิทธิ์ ในการเก็บ บทความดังกล่าวนั้น มาเผยแพร่ในเว็บไซด์ของตนเอง หรือ IR เพื่อนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Pre-print & Post-print , Grey Literature.

Preprint      
          เอกสารฉบับร่างหรือต้นฉบับของข้อเขียนหรือบทความที่ยังไม่ได้ผ่านการประเมินคุณภาพ ยังไม่ได้ทำการพิมพ์และเผยแพร่  อยู่ในขั้นตอน การประเมินคุณภาพ  เพื่อตรวจสอบ  ปรับปรุง และแก้ไข เพื่อวัตถุประสงค์ในการส่งพิมพ์ 


Postprints

          เอกสารฉบับสมบูรณ์ที่จะใช้ในการพิพม์ ปรับปรุงจากPre-print เรียบร้อยแล้วผ่านการพิจารณาตรวจสอบและแก้ไข โดยผู้เขียนนำมาปรับระหว่างการประเมิน หรือในระหว่างการนำไปตีพิมพ์


Grey  Literature
Grey ตือเอกสารที่หาได้ยาก กล่าวคือเผยแพร่เอกสารเฉพาะในกลุ่มใดกลุ่มนึงเท่านั้น
Grey literature จึงหมายถึง เอกสารที่ไม่ได้พิมพ์โดย ทั่วไป หรือเอกสารอื่นๆ ที่มีการควบคุมคุณภาพโดยพิจารณาก่อนที่จะนำไปตีพิมพ์ และไม่ตีพิมพ์แพร่หลาย หรือข้อมูลที่จัดทำโดยรัฐ สถาบันการศึกษา องค์กรธุรกิจ และอุตสาหกรรม ในลักษณะที่เป็นสิ่งพิมพ์และไม่ใช่สิ่งพิมพ์ โดยไม่ผลิตในเชิงเพื่อธุรกิจ



การจัดทำ OA (Open Access)
        มี 2 แบบ คือ

1.      Green OA (OA archives or repositories)
แหล่งจำเก็บข้อมูล วารสารที่ตีพิมพ์ในวารสารของสำนักพิมพ์ทั่วไป แต่ผู้เขียนมีสิทธินำบทความมาจัดเก็บไว้ในเว็บไซต์ของตนเอง หรือIR เพื่อนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตต่อได้"
2.      Gold OA (OA journal)
วารสารที่เปิดให้เข้าถึงบทความในเล่มอย่างอิสระทันทีที่ส่งตีพิมพ์" ผู้เขียนทำและจัดการดูแล เอง  ผู้ทำช่วยกันจัดทำดูแล